ข้อแนะนำ… สำหรับคนอยากเดินในวงการนี้… ถือเป็นโม้ภาคพิเศษ นะครับ… คนที่อยากหารายได้พิเศษโดยการเพาะปลากัดจำหน่าย มาหาผมเยอะ… มีทั้งแบบอยากทำเป็นอาชีพ… และเสริม… หรืองานหลักงานรอง ทำนองนั้น… ผมบอกได้เลยว่า… ไม่เคยขัดขวางใครและสนับสนุนให้ตามกำลังที่ทำให้ได้… แต่จะบอกข้อดีข้อเสียก่อนทุกครั้ง… เพราะ… มันสามารถทำให้คุณ… มีรายได้เสริม…จากไม่กี่พัน… ไปจนหลักแสน… เพราะระบบการทำ การส่ง มันไม่แตกต่างกันนักหรอก… มันจะทำให้เราแตกไลน์ได้… แต่ก็อาจจะทำให้เจ๊งหมดเป็นแสนได้หรือหมดชื่อไปเลยก็ได้… ดาบ 2 คม… … อันดับแรก… ดูกำลังตัวเองก่อน… เรามีเวลาต่อวันมากแค่ไหน… สถานที่มีแค่ไหน… ประสบการณ์มีแค่ไหน… เวลา/วัน… ต้องมีอย่างน้อยการให้อาหารกะเปลี่ยนน้ำ…ทุกวัน การล้าง การเพาะ… ยังทำเสาร์อาทิตย์ได้… คุณมีเวลาติดต่อลูกค้าไหม… มีเวลาถ่ายรูปไหม… ถ่ายเป็นไหม… ภาษาอังกฤษพอดิ้นไปได้ไหม……
Category: วิธีเลี้ยงปลากัดในแบบของผม
และแล้วก็ตัดใจเข็น โม้ตอนที่ 9 ออกมาเลย… สาเหตุที่เข็นเร็ว เพราะเห็นคำถามจากคนรักปลากัดในกระทู้ ทั้งบนบอร์ดเราเองและบอร์ดที่อื่นๆ… ซึ่งดูแล้ว น่าจะมีการนำมาถกกัน… และนำมาทำความเข้าใจกันเสียที… ถึงแม้ว่าในส่วนที่ผมเข้าใจ อาจจะมีบางอย่างไม่ถูกต้องนัก… แต่อย่างน้อยจะได้รู้ว่า เมื่อผมพูดถึงเรื่องนี้… มันน่าจะมีความหมายยังไง และคุยกันรู้เรื่องขึ้น… เรื่องที่ว่าก็คือ… เลือดนิ่งกะเลือดชิด… เป็นคำพูดที่เราพูดกันบ่อยๆในการพัฒนาปลา… จะต้องอินบรีดกันกี่รุ่นถึงจะนิ่ง… ทำกันไปกี่ทีถึงจะชิด… ยิ่งฟังก็ยิ่งงง… เพราะมันคนละความหมายในความคิดของผม… และแบบใดเล่าที่เรียกว่านิ่ง แบบใดเล่าที่เรียกว่าชิด… ก่อนอื่น… เราคงต้องมาดูกันว่าในการเพาะพันธุ์สัตว์ที่เขาใช้กันอยู่ในปัจจุบัน… เขาก็จะใช้กันอยู่ไม่กี่วิธี… แบบที่เห็นมากๆคือ ผสมกันไปเรื่อยๆ… เอาตัวนั้นมาผสมตัวนี้ ไม่สนใจว่าสายมันจะมาจากไหน แบบนี้… เรียกว่า ผสมออกมาให้ได้ตัวพอ… ไม่ต้องมาหาประวัติสายพันธุ์อะไรกัน… อีกแบบหนึ่ง… ก็เอามันในครอกเดียวกันนั่นแหละมาผสมกัน… เรียกว่า อินบรีด …
เนื่องจากมีน้องๆบางคน เจอหน้าแล้วถามหา โม้… ตอนที่ 8 … แล้วผมจะขัดศรัทธาได้ยังไง… อิ อิ … ก็เลยต้องมานั่งนึกหาเรื่องราวที่จะเอามาโม้ซะก่อน… เพราะการจะโม้ได้เป็นตุเป็นตะนั้น มันต้องมีข้อมูล มันต้องมีการกระทำ… และที่สำคัญ มันต้องเป็นเรื่องจริงครับ… ไม่ใช่โม้ไปเรื่อยๆ แต่หาความจริงไม่ได้ แบบนั้น มันเรียกว่าการโกหกซะมากกว่า… เอาล่ะ… หลังจาก “งุ้งงิ๊ง” มา 1 ย่อหน้า… ก็นึกเรื่องราวที่จะโม้ออก… และให้ชื่อโม้ตอนนี้อย่างเป็นทางการว่า “กู้ฟาร์ม” … ทำไมน่ะเหรอ… ถ้าสังเกตกันดีๆ จะพบว่า ผมมักไม่ค่อยถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับโรคปลาเลย… ใช่สิ.. เพราะปกติเจอะเจอน้อยมาก… จนเรียกว่าแทบไม่เคยพบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้สักเท่าไร… เพราะเคยพบพานกันกับโรคปลาหางนกยูง ช่วงแรกๆของการกลับมาเลี้ยงปลาหลังจากทิ้งไปซะกว่า 20…
เรื่องนี้จริงๆไม่เกี่ยวกับปลากัดสักเท่าไร… แต่ก็คิดว่าน่าจะเป็นปัญหาของหลายๆคน โดยเฉพาะมือเพาะเลี้ยงสมัครเล่น หรือแม้กระทั่งกลุ่มทำปลาระดับอาชีพเองก็ตาม… แนวทางที่จะมาแนะนำ… คงไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด … หรือถูกต้องที่สุด มันเป็นเพียงแนวความคิดและผลจากการกระทำที่ได้ทำมาในระยะเวลาหนึ่ง… เรื่องของการตลาด… ไม่ใช่เรื่องที่มีกฎตายตัว… ผมเองถ้าจะว่าไป… ก็ไม่ได้ศึกษามาทางด้านนี้… มาเขียนเรื่องนี้… ยากพอสมควร เอาเป็นว่า ผมเอาประสบการณ์มาเล่าให้ฟังดีกว่า… ทั้งนี้… จะมุ่งไปที่ปลากัดสวยงามมากว่าปลากัดเก่งนะครับ… แต่บางอย่าง ก็สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากันได้… จากวันที่ได้พยายามทำปลากัดออกมาจนได้จำนวน… และเริ่มหาตลาดแรกของตัวเอง ก็ประสบปัญหาพอสมควร… ไม่มีใครยอมรับปลาเรา เอาตัวอย่างปลาไปให้ดู… เขาปฏิเสธโดยไม่ยอมเปิดดูปลาเราเลย… ไม่มีใครสนใจ… จนแทบจะต้องไปขอร้องให้เขามาซื้อปลาเราไป… จากวันนั้น… มาจนถึงวันที่ผมไม่มีปลาจะขาย ไม่มีปลาจะส่งให้ลูกค้า ผ่านอะไรมาพอสมควร… และมองตลาดปลากัดออกเป็น 4 ตลาด… คือ… 1. ตลาดปลาเกรด A…
จบไปกับการเพาะเลี้ยงและอนุบาลลูกปลาใน โม้ตอนที่ 6 แบบไตรภาค แบบที่เรียกว่าค่อนข้างละเอียด… แต่ก็ใช่ว่า เมื่ออ่านแล้วจะเอาไปทำได้เลยนะครับ… อย่าลืมว่า สภาพแวดล้อมต่างๆของแต่ละสถานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง… ซึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวแปร… และควรจะเพ่งเล็ง… คงหนีไม่พ้น… น้ำ แสงสว่าง อุณหภูมิ อาหาร ระบบการจัดการ สายพันธุ์ … ดังนั้น แนวทาง รูปแบบ เทคนิคที่ได้เขียนให้ จะต้องนำไปวิเคราะห์โดยเอาเหตุผลมาจับ… ไม่ใช่การลอกแบบไปทำนะครับ… คราวนี้… เราจะมาต่อกันในเรื่องของการดูแลลูกปลาที่โตแล้ว… เรียกง่ายๆว่า มันรอดมาจากไข่และมีอายุเกิน 20 วัน ไปแล้วดีกว่า… ปลาที่รอดมาจากอายุ 10 วัน จะรอดต่อไปหากอาหาร น้ำ ยังสะอาดและสมบูรณ์ จนกระทั่งโตไปเรื่อยๆ ช่วงนี้ระวังเรื่องเดียว…